วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

เกี่ยวกับบทความ

บทความที่ ข้าพเจ้าเขียนเป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา ITM 633 การจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ และรายวิชา ITM 640 เทคโนโลยีสื่อสารและอินเตอร์เน็ต สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ (ระบบการศึกษาทางไกลทางอินเทอร์เน็ต) มหาวิทยาลัยรังสิต

สอนโดยอาจารย์ พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ

ประวัติย่อ พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
การศึกษา
• ปริญญาเอกวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสารโทรคมนาคม Ph.D. in Electrical Engineering (Telecommunications) จาก State University System of Florida; Florida Atlantic University, USA
• ปริญญาโทวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสารโทรคมนาคม (ระบบสื่อสารเคลื่อนที่) MS in EE (Telecommunications) จาก The George Washington University, USA
• ปริญญาโทวิศวกรรมไฟฟ้า (เครือข่ายสื่อสารคอมพิวเตอร์) MS in EE จาก Georgia Institute of Technology, USA
• ปริญญาตรีวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสารโทรคมนาคม (เกียรตินิยมเหรียญทอง) จาก โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (นักเรียนเตรียมทหารรุ่น 26, จปร. รุ่น 37) BS.EE. (Telecommunication Engineering)
• มัธยมปลาย จากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เกียรติประวัติด้านการศึกษา
• จบการศึกษาปริญญาตรีวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสารโทรคมนาคม อันดับที่ ๑ ด้วยเกียรตินิยมเหรียญทอง
• ได้รับเกียรตินิยมปริญญาเอก Outstanding Academic Achievement จาก Tau Beta Pi Engineering Honor Society และ Phi Kappa Phi Honor Society
• ได้รับทุนวิจัยระดับปริญญาเอกจาก EMI R&D LAB (Collaboration between Florida Atlantic University and Motorola, Inc.) หลักสูตรประกาศนียบัตร
• หลักสูตรการรบร่วมรบผสม (Joint and Combined Warfighting Course), National Defense University, Norfolk ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยทุนต่อต้านก่อการร้ายสากล (Counter Terrorism Fellowship Program) กระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกา
• หลักสูตรการบริหารทรัพยากรเพื่อความมั่นคง (Defense Resourse Management) โดยทุน International Military Education and Training (IMET) program, Naval Postgraduate School ประเทศสหรัฐอเมริกา
• หลักสูตร Streamlining Government Through Outsourcing Course โดยทุน International Military Education and Training (IMET) program, Naval Postgraduate School ประเทศสหรัฐอเมริกา

ตำแหน่งและหน้าที่ปัจจุบัน

• ประจำกรมข่าวทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย
• กรรมการกำหนดและจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่ ภายใต้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.)
• ผู้ช่วยเลขานุการในคณะประสานงานการบริหารคลื่นความถี่เพื่อความมั่นคงของรัฐ ภายใต้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.)
• กองบรรณาธิการ NGN Forum สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
• บรรณาธิการวารสาร International Journal of Telecommunications, Broadcasting, and Innovation Management
• ประธานโครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการกำกับดูแลเรื่องการบริหารคลื่นความถี่ด้วยเทคโนโลยี Dynamic Spectrum Allocation เพื่ออุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทย ภายใต้การสนับสนุนของ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.)
• อาจารย์พิเศษภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
• รองศาสตราจารย์ Business School, TUI University International, USA. (Accredited Internet Distance Learning University)
• รองศาสตราจารย์ American University of London (Internet Distance Learning University
• กรรมการกำกับมาตรฐานในหลักสูตรวิศวกรรมไฟฟ้าโทรคมนาคม, วิศวกรรมซอฟท์แวร์, เกมส์และมัลติมีเดีย, เทคโนโลยีสารสนเทศ, การจัดการสารสนเทศ ในหลายมหาวิทยาลัย ทั้งของรัฐบาลและเอกชน
• อาจารย์พิเศษในมหาวิทยาลัยหลายแห่ง เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง, มหาวิทยาลัยนเรศวร, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ และมหาวิทยาลัยรังสิต

ตำแหน่งและหน้าที่สำคัญในอดีต

• ผู้บังคับหมวด กองพันทหารสื่อสารที่ 1 รักษาพระองค์
• อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
• ผู้พิพากษาสมทบศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง
• ช่วยราชการสำนักงานเสนาธิการประจำเสนาธิการทหารบก
• ปฏิบัติ หน้าที่ใน บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) 1. ตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญและเลขานุการ ประธานกรรมการฯ 2. ตำแหน่งกรรมการกำกับดูแล การดำเนินงานและโครงการ
• อนุกรรมการบริหารโปรแกรมเทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิว เตอร์แห่งชาติ (NECTEC)
• อนุกรรมาธิการ ทรัพยากรน้ำ ในคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสนช.
• ที่ปรึกษาโครงการดาวเทียมเพื่อความมั่นคงศูนย์พัฒนากิจการอวกาศเพื่อความมั่นคง กระทรวงกลาโหม
• หัว หน้าโครงวิจัย การศึกษาความเป็นไปได้การจัดสร้างพื้นที่ทดสอบความเข้ากันได้ทางแม่เหล็ก ไฟฟ้าและสอบเทียบสายอากาศ ศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (PTEC) สนับสนุนโครงการโดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (NSTDA)
• อนุกรรมการ การประชาสัมพันธ์ สื่อทางอินเทอร์เน็ต ศาลยุติธรรม
• ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาหามาตรการในการป้องกันการแพร่ระบาดของเกมส์คอมพิวเตอร์ (ออนไลน์) ในสภาผู้แทนราษฎร
• กรรมการ ร่างหลักเกณฑ์ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมผ่านดาวเทียมสื่อสาร และโครงข่ายสถานีวิทยุคมนาคมภาคพื้นดิน ภายใต้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.)
• คณะ ทำงานกำหนดคุณลักษณะเฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่าย และกำหนดขอบเขตการจ้างที่ปรึกษาในการออกแบบและพัฒนาระบบงาน สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน
• ที่ปรึกษาในคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (CIO Board) สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน
• อนุกรรมการปรับปรุงระบบข้อมูลสารสนเทศ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน
• นักวิจัย Visiting Researcher, Asian Center for Research on Remote Sensing (ACRoRS); Asian Institute of Technology (AIT)
• นักวิจัย Visiting Researcher, FAU EMI R&D LAB, Boca Raton, Florida, USA
• ผู้เชี่ยวชาญเพื่อพิจารณาข้อเสนอโครงการวิจัย พัฒนาและวิศวกรรม ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)
• ผู้เชี่ยวชาญเพื่อพิจารณาข้อเสนอโครงการวิจัยและพัฒนา กระทรวงกลาโหม
• ผู้ประเมินนักวิจัยดีเด่นประจำปี ของสภาวิจัยแห่งชาติ
• Adjunct Professor, School of Information Technology, Southern Cross University, Australia
• Adjunct Professor, Southern Cross University, Australia (Cooperation with Narasuan University, Thailand)
• Adjunct Professor, University of Canberra, Australia (Cooperation with Narasuan University, Thailand)

ผลงานตีพิมพ์ทางวิชาการ

• วารสารวิจัยระดับนานาชาติ 22 ฉบับ
• วารสารการประชุมทางวิชาการระดับชาติและนานาชาติ 63 ฉบับ

Unified Communication System : ระบบการสื่อสารแบบครบวงจร

ปัจจุบันเทคโนโลยีการสื่อสารได้พัฒนารูปแบบการสื่อสารที่ก้าวหน้ามากขึ้น ผ่านอุปกรณ์หลากหลายสื่อ ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการการติดต่อสื่อสาร การส่งข้อมูลข่าวสารต่างๆ ถึงกัน เช่น การสนทนาผ่านทางโทรศัพท์มือถือ การประชุมผ่าน Voice Conference และ Video Conference การส่งข้อความผ่านทาง Email การส่งข้อมูล Fax เป็นต้น ซึ่งการส่งข้อมูลข่าวสารในแต่ละรูปแบบต่างก็ต้องการอุปกรณ์รับเฉพาะด้าน เช่น การส่ง Fax ก็ต้องอาศัยเครื่อง Fax เป็นตัวรับข้อมูล การรับส่ง Email ผ่านคอมพิวเตอร์ หรือการรับข้อความเสียง Voice Mail ผ่านทางอุปกรณ์โทรศัพท์ที่มีความสามารถในการเก็บข้อมูลได้ ถึงแม้ว่าอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ เหล่านี้จะช่วยอำนวยความสะดวกอย่างมากในการติดต่อสื่อสาร แต่ว่าสำหรับบุคคลที่ต้องปฏิบัติงานโดยเฉพาะลักษณะงานที่ไม่ได้ทำประจำอยู่ที่เดียว มีการเดินทางเพื่อติดต่อลูกค้า การทำงานระหว่างสาขา หรือทำงานนอกสถานที่ ต้องพบกับปัญหาการเข้าถึงข้อมูล การเตรียมพร้อมสำหรับอุปกรณ์รับข้อมูลทุกรูปแบบทำได้ยาก และเกิดการรับข้อมูลข่าวสารที่ล่าช้าขึ้น

ทำให้เกิดแนวความคิดในการนำมาระบบสื่อสารต่างๆ มาผนวกรวมเข้าด้วยกัน เพื่อรวมการติดต่อสื่อสารของทุกช่องทางเข้าไว้ที่ศูนย์กลาง และผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลการติดต่อสื่อสารได้จากทุกช่องทาง โดยระบบนี้จะช่วยทำให้ผู้ใช้งานสามารถจัดการข้อมูลข่าวสารหลายๆ รูปแบบ ผ่านทางการใช้บริการ
Service เดียว ซึ่งสามารถเชื่อมต่อผ่านอุปกรณ์ที่หลากหลาย เช่น ผู้ใช้งานสามารถเช็ค Email และตอบกลับผ่านทางมือถือ สามารถเช็ค voice-mail และ fax จาก Notebook ขณะที่กำลังเดินทางได้ ซึ่งจะเสริมประสิทธิภาพในการทำงานให้ดียิ่งขึ้น


ระบบการสื่อสารแบบครบวงจร
Unified Communications เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการสื่อสาร และสถาปัตยกรรมที่เป็นการผนวกรวมแอพพลิเคชั่นด้านเสียง, วีดีโอ, ข้อมูล และระบบเคลื่อนที่เข้าด้วยกันเป็นระบบเดียว
ช่วยสร้างประโยชน์ในการดำเนินการทางธุรกิจให้มากที่สุด และยกระดับการติดต่อสื่อสารให้สมบูรณ์ สามารถสร้างทิศทาง( Flow)การทำงานและจัดองค์ประกอบของอุปกรณ์และสื่อให้เป็นอิสระจากกัน ช่วยให้ง่ายต่อการใช้งาน

หรือจะกล่าวอีกอย่างว่า การสื่อสารแบบรวมศูนย์
(Unified Communication System) คือ การเชื่อมโลกของการสื่อสารผ่านสายโทรศัพท์และโลกของคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน เพื่อให้ผู้ใช้สามารถโต้ตอบแบบเรียลไทม์ (Real-time) ผ่านข้อความพิมพ์ เสียง การแสดงสถานะออนไลน์ อีเมล์ และการประชุมร่วมจากการสั่งการจากหน้าจอเดสก์ท็อป โดยมีซอฟต์แวร์ช่วยจัดการระบบการสื่อสารให้คล่องตัว ระหว่างบุคคลและองค์กรต่างๆ เพื่อลดปัญหาความซับซ้อนของระบบการสื่อสารยุคใหม่ ด้วยการล็อกอินวิธีใดก็ได้ เข้าไปใช้งาน


องค์ประกอบของ
Unified Communications System



Unified Communications จึงเป็นการรวม component ต่างๆ ในการติดต่อสื่อสารภายในองค์กรไม่ว่าจะเป็น ระบบโทรศัพท์ทั้งแบบเก่าและแบบ IP Phone ระบบ Voice Mail เชื่อมต่อเข้าสู่ Email Server, Fax, และ Internet โดยมี System หลักที่ทำหน้าที่ในการเป็น Central Application, Web Base Interface, Message Store Database ซึ่งสามารถจัดเก็บข้อมูลสำหรับผู้ใช้งานซึ่งต้องเดินทางอยู่ตลอดเวลาสามารถโทรกลับมาเพื่อฟังวอยซ์เมล์ รวมทั้งเปิดอีเมล์โดยใช้เทคโนโลยี speech-enabled ช่วยแปลงเป็นเสียงพูด ซึ่งระบบต่างๆ ที่มีใน Unified Communication System ได้แก่

1. Communation System
คือ ระบบการสื่อสารในรูปแบบต่างๆ เช่น ระบบโทรศัพท์ เครือข่ายมือถือ และระบบอินเตอร์เน็ต

- Telephony

Telephony คือ การสื่อสารด้วยการสนทนาระหว่างบุคคลสองฝั่ง ผ่านทางสายสัญญาณไฟฟ้าที่เรียกว่าสายโทรศัพท์ ประวัติของของระบบโทรศัพท์เริ่มต้นมากกว่า 100 ปี จากในอดีตที่การติดต่อสื่อสารยังอยู่ในยุค 1G นั่นคือการสื่อสารทั้งหมดอยู่ในรูปของ Analog ผ่านระบบโทรศัพท์ที่มีการเชื่อมโยงเครือข่ายโทรศัพท์โดยตู้โทรศัพท์สาขา PBX ที่ให้บริการโดยองค์การโทรศัพท์ส่วนท้องถิ่น จนพัฒนาเข้าสู่ยุคโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบ Digital ที่ทำให้การใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน


-TCP/IP Network

ในการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะต้องมีมาตรฐานหรือระเบียบที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารที่เรียกว่า โปรโตคอล สำหรับการติดต่อผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตซึ่งมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันและมีผู้ใช้บริการจำนวนมากมายมหาศาลก็จำเป็นต้องมีการกำหนดวิธีการที่ใช้เป็นมาตรฐาน โดยใช้โปรโตคอลชื่อว่า โปรโตคอลทีซีพี/ไอพี (
TCP/IP) ซึ่งย่อมาจากคำว่า Transmission Control Protocol/Internet Protocol โปรโตคอลทีซีพี/ไอพี จะมีการกำหนดกฎเกณฑ์ รูปแบบการเชื่อมต่อของเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย การโอนย้ายข้อมูลการแสดงสถานะที่ใช้ในการเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างเครื่องต้นทางและเครื่องปลายทาง ให้สามารถติดต่อสื่อสารและทำงานร่วมกันได้อย่างไม่มีความเสียหายเกิดขึ้น โดยโปรโตคอลทีซีพี/ไอพี จะใช้เทคนิคในการรับส่งข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือมากที่เรียกว่า แพ็คเก็ตสวิตชิ่งเน็ตเวิร์ค (Packet Switching Network)
ซึ่งประกอบด้วยโปรแกรมที่ทำงานร่วมกัน
2 ตัวคือ Transmission Control Protocol (TCP) และ Internet Protocol (IP) การแบ่งลักษณะในการทำงานก็จะแบ่งเป็น TCP มีหน้าที่ในการตรวจสอบการรับส่งข้อมูล ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ผู้รับ และเครื่องคอมพิวเตอร์ผู้ส่งให้ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วน หรือว่าหากมีการสูญหายของข้อมูลก็จะมีการแจ้งให้ต้นทางที่ส่งข้อมูลมารับทราบ แล้ว ให้ทำการส่งข้อมูลมาให้ใหม่
ส่วนลักษณะการทำงานของ
IP นั้น จะทำหน้าที่ในการเลือกเส้นทางที่จะใช้ในการรับส่งข้อมูลในระบบเครือข่าย และทำการตรวจสอบที่อยู่ของผู้รับโดยการใช้ข้อมูลขนาด 4 byte เป็นตัวกำหนด Address หรือที่เราเรียกกันว่า IP Address โปรโตคอล IP ให้การสื่อสารแบบดาต้าแกรมระหว่าง Node บนเครือข่ายคล้าย IPX โปรโตคอล TCPเหมือนกับ NetBIOS ในแง่การสื่อสารแบบจุดต่อจุดและประกันการได้รับข้อมูล โดยยูทิลิตี FTP การเรียกทำงานระยะไกล(Telnet)

-VoIP
และ IP Telephony
VoIP ก็คือ เทคโนโลยีในการส่งข้อมูลเสียงไปบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือเครือข่าย IP ส่วน IP Telephony เป็นเทคโนโลยีโทรศัพท์ที่ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสามารถรับ-ส่งภาพ เสียงและข้อมูลได้ ระบบโทรศัพท์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นการเพิ่มคุณค่าและประโยชน์องค์การที่ลงทุนต่ำด้วยเครือข่ายที่มีอยู่เดิมโดยพัฒนาให้สามารถรองรับการใช้โทรศัพท์บนเครือข่าย จากความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสารทำให้ระบบสามารถบูรณาการเป็นระบบเดียวกันและใช้ประโยชน์ได้หลายรูปแบบ

IP Telephony คือระบบโทรศัพท์ผ่านเครือข่ายไอพีโดยใช้ประสิทธิภาพในการติดต่อสื่อสารผ่าน เครือข่ายอินเทอร์เน็ตกับฟังก์ชันของ PSTN (Public Switched Telephone Network) ซึ่งจะเป็นการส่งข้อมูลผ่านไปบนโครงข่ายของระบบอินเทอร์เน็ตแบบเรียลไทม์ สามารถอินทีเกรตกับโครงสร้าง PSTN เดิมที่มีอยู่แล้วได้แม้ IP Telephony จะมุ่งเน้นเพื่อให้บริการรับส่งข้อมูลเสียงเป็นหลักแต่มันก็มีความ สามารถอื่น ๆ ที่มีในระบบอินเทอร์เน็ตได้ อย่างเช่น การส่งแฟกซ์ วีดีโอและข้อมูลผ่านโมเด็มได้


2. Communication forms

รูปแบบการติดต่อสื่อสารต่างๆ เช่น
Instant Messaging, Telephony, Video, Email, Fax, Voice mail, SMS ฯลฯ ที่สามารถนำมาผนวกรวมเข้าไว้ด้วยกัน โดยเน้นที่การทำให้เป็นรูปแบบ Real-time และ Coordinated

3. Hardware, Device and Software for Communication
คือ
อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการรับข้อมูล อุปกรณ์เครือข่ายและรวมถึง
Software ต่างๆ ที่ใช้ในการจัดการระบบติดต่อสื่อสาร โดยเน้นที่การจัดการข้อมูลข่าวสารให้อยู่ในรูปแบบของ Digital เนื่องจากทำให้สามารถรวมระบบและส่งต่อไปยังระบบอื่นๆ ได้ง่าย ตัวอย่าง เช่น


Hardware: IP Phone

IP Phone (ไอพีโฟน) หรือที่เรียกว่า IP Telephony คือ โทรศัพท์ที่ใช้รองรับเทคโนโลยี VoIP มีลักษณะการทำงานต่างกับโทรศัพท์บ้านแบบอะนาลอกที่ใช้กันอยู่ทั่วไป เวลาใช้งานจะต้องต่อไอพีโฟนเข้ากับโครงข่ายอินเตอร์เน็ตโดยตรง (ซึ่งต้องมี server รองรับการให้บริการโทรศัพท์ภายในโครงข่าย IP ด้วย) โดยไอพีโฟนจะนำเอาเสียงที่อยู่ในรูปสัญญาณดิจิตอลขนาด 64 Kbps มาบีบอัดพร้อมกับการเข้ารหัส ที่มีลักษณะพิเศษใช้ความเร็วในการส่งข้อมูลต่ำ (Low-bit-rate Vocoder) ให้เหลือประมาณ 8-10 Kbps แล้วจัดให้อยู่ในรูปแพ็คเก็ตไอพี (IP Packet) ก่อน จากนั้นก็จะส่งผ่านเครือข่าย ไปยังปลายทางที่ต้องการ


Software :
คือชุด Software ต่างๆ ที่ใช้ในการผนวกรวมระบบการสื่อสารในรูปแบบต่างๆ เข้าด้วยกัน ในที่นี้ขอยกตัวอย่าง Software ของ Microsoft ซึ่งไมโครซอฟท์ได้เปิดตัวชุดซอฟต์แวร์ Microsoft Unified Communications และซอฟต์แวร์ VoIP ประกอบไปด้วย
1. Microsoft Office Communications Server 2007 ซอฟต์แวร์ที่รวม VoIP วิดีโอ ข้อความสำเร็จรูป การจัดการการประชุม ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์วางแผนทรัพยากรสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ และ Microsoft CRM

2. Microsoft Office Communicator 2007 ซอฟต์แวร์ลูกข่ายสำหรับการสื่อสารผ่านโทรศัพท์ ข้อความสำเร็จรูป และวีดีโอ ที่ทำงานร่วมกันผ่านคอมพิวเตอร์พีซี โทรศัพท์เคลื่อนที่ และเว็บบราวเซอร์

3. Microsoft Office Live Meeting บริการจัดการการประชุมล้ำสมัยเวอร์ชั่นใหม่ของไมโครซอฟท์ที่จะช่วยบุคลากรในการจัดการประชุม แลกเปลี่ยนเอกสาร ดูภาพจากวีดีโอ บันทึกการสนทนาจากการใช้งานคอมพิวเตอร์เครื่องใดๆ ก็ตาม



การวางระบบ
Unified Communication System

คือ การวางรูปแบบการเชื่อมต่อระบบการสื่อสารที่หลากหลายให้ผนวกรวมเข้าด้วยกัน เพื่อช่วยให้สามารถเชื่อมต่อ สื่อสาร และทำงานร่วมกันได้ โดยใช้ประโยชน์จากการผนวกรวมเสียง วิดีโอ และข้อมูลบนมาตรฐานการสื่อสาร
Internet Protocol (IP)
ในส่วนนี้จะขอยกตัวอย่างระบบ
Unified Communication System ของ Cisco เนื่องจาก Cisco เป็นผู้นำในด้านอุปกรณ์ Network และ Communication
ระบบ
Cisco Unified Communications ประกอบขึ้นจากสถาปัตยกรรม Cisco Service-Oriented Network Architecture (SONA) ซึ่งได้รับการเปิดตัวเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนธันวาคม 2548 โดยระบบ Cisco Unified Communications เป็นแพลตฟอร์มแบบเปิดสำหรับการสื่อสารในแบบเรียลไทม์ โดยอ้างอิงข้อมูลการเชื่อมต่อระบบไร้สาย และเครือข่ายข้อมูลอัจฉริยะ ระบบดังกล่าวได้ใช้เครือข่ายข้อมูลไอทีเป็นแพลตฟอร์มสำหรับการให้บริการ ดังรายละเอียดต่อไปนี้


Model และ Solutions ของ Unified Communication System


Cisco Unified CallManager
การจัดศูนย์กลางข้อมูลในการติดต่อ การทำงานของระบบเครือข่ายโทรศัพท์ ขององค์กร และเพิ่มความสามารถในการใช้งาน ผ่านทางอุปกรณ์เครือข่าย
Packet Telephony เช่น IP phones, media processing devices, voice over IP (VoIP) gateways , การบริการทางด้าน Unified messaging, Multimedia conferencing


Cisco MeetingPlace

ผู้ใช้งานสามารถสื่อสารกับผู้ร่วมงาน
, นำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการให้กับลูกค้า เพียงแค่ใช้โทรศัพท์และ Web browser เท่านั้น Cisco MeetingPlace Express ช่วยทำให้การประชุมแบบเสมือน (virtual meeting) มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยการจัดการการประชุม และควบคุมการทำงานผ่านทาง web และ Cisco IP phone

Cisco Unity

นำเสนอรูปแบบของการทำงานระบบข้อความ และเมล์แบบเสียงสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ ไปจนถึงระดับกลาง โดยใช้ร่วมกับ
Microsoft Exchange และ Lotus Domino

Cisco IP Communicator (Softphone)

ช่วยให้ผู้ที่ต้องเดินทางไปติดต่องานยังสาขาต่างๆ อยู่เสมอ สามารถใช้
Cisco SoftPhone หรือ Cisco IP Communicator ในการโทรศัพท์จากเครื่องแล็บท็อปของพวกเขาเพื่อติดต่องานในองค์กร หรือเช็กวอยซ์เมล์จากเครื่องแล็บท็อปได้เสมือนอยู่ในบริษัท


Cisco Unified Personal Communicator

พนักงานสามารถใช้ข้อมูลร่วมกัน อาศัยระบบการสื่อสารแบบเรียลไทม์ ลดช่องว่างระหว่างแอพพลิเคชั่นแบบ
stand-alone ที่ติดตั้งไว้บนเดสก์ทอป โทรศัพท์ และเครือข่าย

Cisco Unified Presence Server

รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสถานะของผู้ใช้ การเชื่อมต่อเพื่อเลือกใช้วิธีการสื่อสารที่เหมาะสมที่สุด
โดยสามารถตรวจสอบสถานะของผู้ใช้งาน เช่น รูปแบบการติดต่อสื่อสารที่สามารถติดต่อสำหรับแต่ละบุคคลและกำหนดลำดับขั้นในการติดต่อสื่อสารเช่น โทรศัพท์ Email VoiceMail โดยจะสามารถส่งข้อมูลไปให้ผู้ใช้งานได้ถูกต้องเหมาะสมที่สุด

Customer Interaction Analyzer

วิเคราะห์ข้อมูลภายในศูนย์
Call Center เพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการ โดยนำข้อมูลการโต้ตอบกับลูกค้ามาวิเคราะห์ เพื่อปรับปรุงความสัมพันธ์กับลูกค้า

Cisco Fax Server

โซลูชั่นทางด้าน
e-document เพื่อการรวมระบบเสียง, แฟกซ์, ข้อมูล และแอพพลิเคชั่น ขององค์กรเข้าไว้ด้วยกัน สามารถรับ และจัดส่งเอกสารผ่านทางแฟกซ์, e-mail, เครื่องพิมพ์ หรือทางอินเตอร์เน็ต ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ประโยชน์ของ
Unified Communication System

จากตัวอย่างการวางระบบ
Unified Communication System คงพอช่วยทำให้มองเห็นภาพการประยุกต์ใช้งานและประโยชน์ของ Unified Communication System ที่ผนวกรวมระบบการสื่อสารต่างๆ เช่น แอพพลิเคชัน อุปกรณ์ เครือข่าย และระบบปฏิบัติการ เข้าเป็นหนึ่งเดียว เพื่อลดปัญหาความยุ่งยากของการใช้เครื่องมือการสื่อสารต่างๆ ให้เกิดความคล่องตัวในการทำงาน
ระบบสื่อสารแบบผนวกรวมจะช่วยเพิ่มประสิทธิผลของธุรกิจ และเกิดความคล่องตัวในการดำเนินงาน ช่วยทำให้เกิดความมั่นใจได้ว่าข้อมูลจะถึงผู้รับได้ทุกที่ ทุกเวลา ไม่ว่าระบบการทำงานของผู้รับจะเป็นชนิดใด ด้วยการเลือกใช้สื่อที่เหมาะสมที่สุด และช่วยลดความกังวลในเรื่องของเวลาและสถานที่ในการปฏิบัติงานได้อีกด้วย ทั้งนี้ระบบการสื่อสารแบบครบวงจร
(Unified Communication System) ได้ช่วยอำนวยความสะดวกและก่อประโยชน์ดังต่อไปนี้

-
การทำงานนอกสถานที่
ช่วยให้สามารถดูภาพรวมของสายเรียกทางโทรศัพท์, ปฏิทิน, ข้อมูล และอีเมล์ได้จากทุกที่ ทุกเวลา และรวมของทุกๆ คนในองค์กร สามารถปรับปรุงประสิทธิภาพการเข้าถึงข้อมูลที่มีความสำคัญทั่วทั้งองค์กร
-
สามารถการทำงานร่วมกัน
ได้แม้อยู่คนละที่ โดยใช้สื่อร่วมกันกับผู้รับได้ทุกประเภททั้งผ่านเสียง เว็บหรือการประชุมทางวิดีโอ สร้างเวิร์กกรุ๊ปที่มีความยืดหยุ่นยิ่งขึ้นช่วยให้สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว และช่วยให้กระบวนการตัดสินใจทำได้อย่างรวดเร็ว
-
การรักษาความปลอดภัย
เพิ่มการรักษาความปลอดภัยที่ครอบคลุมตลอดทั้งเครือข่าย ตั้งแต่โครงสร้างพื้นฐานผ่านอุปกรณ์ควบคุม และแอพพลิเคชันการติดต่อสื่อสาร
-
เพิ่มทางเลือก
มาตรฐานที่เปิดกว้างช่วยให้สามารถผนวกรวมเข้ากับแอพพลิเคชันจากอุตสาหกรรมชั้นนำอื่นๆ ได้
-
เพิ่มประสิทธิภาพในการบริการลูกค้า
การผนวกรวมเข้ากับแอพพลิเคชันต่างๆ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการของศูนย์บริการลูกค้า และสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า และสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว


อนาคตของ Unified Communications System
นอนาคตจะมีการเชื่อมโยงระหว่างบุคคลแบบ person-to-person โดยผ่านทางเครือข่าย IP เพิ่มมากขึ้น และเปลี่ยนจากรูปแบบเดิมที่เคยเป็นแบบ Device-to-Device เช่น มือถือ-มือถือ เป็นการเชื่อมโยงกันโดยไม่ขึ้นอยู่กับ Device ซึ่งจะมี Application ใหม่ๆ และระบบที่ออกแบบมาเพื่อนำเสนอ Solution ในด้านการทำงานของระบบการสื่อสารแบบครบวงจร(UCS)มากขึ้น โดยบริษัทผู้ผลิตฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์แต่ละบริษัทจะมุ่งเน้นในการสร้าง Application ที่สามารถเชื่อมโยงระบบเข้าด้วยกันได้ พร้อมทั้งมีความยืดหยุ่นและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มากขึ้น



แหล่งอ้างอิง
[1] Unified Communication ; http://www.acm.org/crossroads/xrds8-1/ucs.html by Christopher R. Andrews
http://en.wikipedia.org/wiki/Unified_communications#Definition
http://www.cisco.com/web/TH/solutions/overview.html
[2] ประวัติระบบโทรศัพท์-โทรศัพท์เคลื่อนที่ ; http://www.nokia.com/A4303007
[3]ประวัติเครือข่าย TCP/IP; http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/poonsak/ictinternet/internet2.html
[4] Voip ; http://www.adslthailand.com/forum/viewtopic.php?t=11307
[5] Unified Communication System ; http://www.vcharkarn.com/vblog/38404/1
[6] http://www.microsoft.com/thailand/uc/what_uc.aspx
[7] http://student.nu.ac.th/45273380_mod/protocol.htm

ที่มา-ภาพ
[1]Unified Communication http://www.dialaphone.co.uk/blog/?p=1501
[2]http://www.voipcentral.org/entry/corporate-voip-price-matters-first/2.Voip

วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

อินเทอร์เน็ตและแนวโน้มการพัฒนาในอนาคต

ปัจจุบันอินเทอร์เน็ตนับว่าเป็นเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่มีความเจริญเติบโตรวดเร็วที่สุด จำนวนของผู้ใช้และจำนวนของเว็บไซต์ (Web sites) ที่นับว่าเป็นส่วนสำคัญของอินเทอร์เน็ต ซึ่งสามารถนำเสนอข้อมูลในรูปของสื่อประสม (multimedia) ก็มีอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน

อินเทอร์เน็ต ได้กลายเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ครอบคลุมไปทั่วโลก พร้อมกับมีข้อมูลมหาศาล ทุกประเภท สำหรับบริการให้ค้นคว้า และรับส่งข้อมูลไปมาระหว่างกันได้ ผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ตสามารถใช้บริการต่างๆ ที่มีอยู่ในระบบไม่ว่าจะเป็น
ด้านการศึกษา เราสามารถใช้สืบค้น ค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม ศิลปกรรม สังคมศาสตร์ กฎหมาย ข้อมูลทางวิชาการ บทความงานวิจัยจากที่ต่างๆ อินเตอร์เน็ตทำหน้าที่เหมือนห้องสมุด บริการส่งข้อมูลที่เราต้องการมาให้ถึงที่บ้าน ที่ทำงานโดยที่เราไม่ต้องเดินทาง

อินเทอร์เน็ตยังช่วยอำนวยความสะดวกในด้าน
การรับส่งข่าวสาร เราสามารถรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-mail กับผู้ใช้คนอื่นๆ ทั่วโลก ในเวลาอันรวดเร็ว ในรูปแบบต่างๆ เช่น แฟ้มข้อมูล รูปภาพ ข้อมูลแบบมัลติมีเดีย ที่เป็นภาพและเสียงโดยเสียค่าใช้จ่ายต่ำมาก

สำหรับด้านธุรกิจและการค้า อินเทอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทในเรื่องของ
การค้าอิเล็กทรอนิกส์หรืออีคอมเมิร์ซ(e-commerce) ช่วยทำให้เกิดการปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าโดยตรง ไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง ลูกค้าสามารถเลือกดูสินค้า สั่งซื้อ และจ่ายเงินด้วยบัตรเครดิตหรือตามเงื่อนไขของธุรกิจร้านค้านั้นๆ ได้ทันที นับว่าเป็นความสะดวกสบาย และรวดเร็วมาก สินค้าก็มีจำหน่าย ทุกประเภท และเปิดบริการตอลด 24 ชั่วโมง
ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ตยังมีอีกมากมายทั้งบริการความบันเทิง และการพักผ่อนหย่อนใจ หรือสันทนาการ เช่น เลือกอ่านวารสารต่างๆ ผ่านอินเตอร์เน็ต ที่เรียกว่า magazine แบบ online หรือจะดูหนัง ฟังเพลง ฯลฯ ก็สามารถค้นหาได้จากอินเทอร์เน็ต

ด้วยคุณประโยชน์ที่สามารถตอบสนองความต้องการที่หลากหลาย ช่วยอำนวยความสะดวกสบาย รวดเร็ว และประหยัด อินเทอร์เน็ตจึงเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของผู้คนไม่ว่าจะเป็นชีวิตส่วนตัวหรือที่ทำงาน อินเทอร์เน็ตได้เพิ่มความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ทุกสิ่งทุกอย่างในวิถีชีวิตของผู้คนจึงมารวมอยู่ที่จุดเดียวคือ บริการผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

ความหมายของอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ต คือ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งเกิดจากระบบคอมพิวเตอร์เครือข่ายย่อย ๆ หลาย ๆ เครือข่ายรวมตัวกันเป็นระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ ซึ่งขยายความได้ดังนี้ คือ การที่คอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป สามารถติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกันได้โดยผ่านสาย Cable หรือ สายโทรศัพท์ ดาวเทียม ฯลฯ การติดต่อนั้นจะเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน หรือใช้อุปกรณ์ร่วมกัน เช่น ใช้ Printer หรือ CD-Rom ร่วมกัน เราเรียกพฤติกรรมของคอมพิวเตอร์ลักษณะนี้ว่า เครือข่าย (Network) ซึ่งเมื่อมีจำนวนคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายมากขึ้น และมีการเชื่อมโยงกันไปทั่วโลก จนกลายเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ เราเรียกสิ่งนี้ว่า อินเตอร์เน็ต นั่นเอง

ประวัติอินเทอร์เน็ต
อินเตอร์เน็ตกำเนิดขึ้นเมื่อประมาณปี ค.ศ.1969 หรือประมาณปี พ.ศ. 2512 โดยพัฒนามาจาก อาร์พาเน็ต (ARPAnet) ซึ่งเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายใต้ความรับผิดชอบของหน่วยงานโครงการวิจัยขั้นสูง (Advanced Research Projects Agency) หรือเรียกชื่อย่อว่า อาร์พา (ARPA) ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา (Department of Defense) จุดประสงค์ของโครงการอาร์พาเน็ต เพื่อสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่คงความสามารถในการติดต่อสื่อสารถึงกันได้ แม้ว่าจะมีบางส่วนของเครือข่ายไม่สามารถทำงานได้ก็ตาม

อาร์พาทำหน้าที่สนับสนุนงานวิจัยพื้นฐานทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยให้ทุนสนับสนุนแก่หน่วยงานอื่นๆ เช่น มหาวิทยาลัย และบริษัทเอกชนที่ทำการวิจัยและพัฒนาในเดือนกันยายน พ.ศ. 2512 (ค.ศ.1969) โครงการอาร์พาเน็ต ได้ริเริ่มโดยเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ระหว่างสถาบัน 4 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ลอสแอนเจลิส, มาหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ซานตา บาร์บารา, มหาวิทยาลัยยูทาห์ และสถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์จากสถาบันทั้ง 4 แห่งนี้ เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างชนิดกันและใช้ระบบปฏิบัติการที่แตกต่างกัน

ในปี พ.ศ.2528 (ค.ศ.1985) มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติอเมริกา (National Science Foundation หรือ NSF) ได้ให้เงินทุนสร้างคอมพิวเตอร์ 6 แห่ง และใช้ชื่อว่า NSFnet ต่อมาในปี พ.ศ. 2533 (ค.ศ.1990) อาร์พาเน็ตไม่สามารถที่จะรองรับภาระที่เป็นโครงข่ายหลัก (backbone) ของระบบได้ อาร์พาเน็ตจึงยุติลง และเปลี่ยนไปใช้ NSFnet และเครือข่ายอื่นๆ แทนมาจนเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ จนกระทั่งในปัจจุบัน โดยเรียกเครือข่ายว่า อินเทอร์เน็ต(http://www.skn.ac.th/a_cd/internet/history.html)

ปัจจุบันมีหน่วยงานและบริษัทธุรกิจจำนวนมากที่ให้บริการด้านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งประกอบไปด้วยเครือข่ายโทรศัพท์ เครือข่ายการสื่อสารดาวเทียม และหน่วยงานรัฐบาลต่างก็ให้ความร่วมมือในการพัฒนาโครงข่ายเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และทั้งๆ ที่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเติบโตอย่างรวมเร็วก็ตาม อินเทอร์เน็ตก็ยังคงเป็นเครือข่ายสาธารณะและเครือข่ายของความร่วมมือ ไม่มีบุคคล นิติบุคคล หรือองค์การ หน่วยงาน รัฐบาลใดเป็นเจ่าของแต่เพียงผู้เดียว อย่างไรก็ตามได้มีองค์กรที่ทำหน้าที่ในการกำหนดมาตรฐานและดูแลการใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ตร่วมกัน หน่วยงานนั้นคือ World wide Web Consortium หรือเรียกย่อๆ ว่า W3C)
นอกจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปแล้ว ยังมีเครือข่ายที่เรียกว่าอินเทอร์เน็ตทู (Internet2 หรือI2) ซึ่งเป็นเครือข่ายที่ดำเนินการโดยไม่หวังผลกำไร แต่มีวัตถุประสงค์ด้านการวิจัยและพัฒนาทางเทคโนโลยีและการเรียนการสอน สมาชิกของ I2 ประกอบด้วยมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกามากกว่า 180 แห่ง และบริษัทเอกชนมากกว่า 60 บริษัท (Shelly et al.,2002)


อินเทอร์เน็ตในไทย

ประเทศไทยได้ติดต่อกับอินเทอร์เน็ตในลักษณะการใช้บริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) โดยในปี พ.ศ. 2530 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (Asian Institute of Technology หรือ AIT) ได้ติดต่อขอใช้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น โดยความร่วมมือระหว่างไทยและออสเตรเลียตามโครงการ IDP ซึ่งการเชื่อมโยงในขณะนั้นจะใช้สายโทรศัพท์ ซึ่งส่งข้อมูลได้ช้าและไม่เป็นการถาวร

ต่อมาในปี พ.ศ. 2535 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดตั้งเครือข่ายเพื่อเชื่อมโยงเข้ากับเครือข่ายยูยูเน็ต (UUNET) ของบริษัทยูยูเน็ตเทคโนโลยี จำกัด (UUNET Technology Co., Ltd.) ซึ่งตั้งอยู่ที่รัฐเวอร์จิเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา และในปีเดียวกันนี้ สถาบันการศึกษาหลายแห่ง เช่น สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้ขอเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรียกเครือข่ายนี้ว่า เครือข่ายไทยเน็ต (THAINET)

ในปีเดียวกันศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (National Electronics and Computer Technology Center หรือ NECTEC) ได้จัดตั้งเครือข่ายไทยสาร (Thai Social/Scientific, Academic and Research Network หรือ ThaiSARN) ซึ่งต่อมาได้ต่อกับเครือข่ายยูยูเน็ต และปัจจุบันไทยสารได้เชื่อมโยงกับสถาบันต่างๆ ดังรูป

















เหตุผลสำคัญที่ทำให้อินเตอร์เน็ตได้รับความนิยมแพร่หลาย
คือ
1. การสื่อสารบนอินเตอร์เน็ต ไม่จำกัดระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ที่ต่างระบบปฏิบัติการกันก็สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ เช่น คอมพิวเตอร์ที่มีระบบปฏิบัติการแบบ Windows 95 สามารถสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ที่มีระบบปฏิบัติการแบบ Macintosh ได้
2. อินเตอร์เน็ตไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของระยะทาง ไม่ว่าจะอยู่ภายในอาคารเดียวกัน หรือห่างกันคนละทวีป ข้อมูลก็สามารถส่งผ่านถึงกันได้
3. อินเตอร์เน็ตไม่จำกัดรูปแบบของข้อมูล ซึ่งมีได้ทั้งข้อมูลที่เป็นข้อความอย่างเดียว หรืออาจมีภาพประกอบ รวมไปถึงข้อมูลชนิด มัลติมีเดีย คือมีทั้งภาพเคลื่อนไหวและมีเสียงประกอบด้วยได้
ด้วยเหตุผลดังกล่าวอินเทอร์เน็ตจึงได้รับความนิยมสูงขึ้นเรื่อยๆ ในแต่ละวันจึงมีผู้คนใช้อินเทอร์เน็ตทำกิจกรรมต่างๆ มากมายทั้งในเรื่องบริการสืบค้นข้อมูล แลกเปลี่ยนข่าวสาร สร้างเว็บบล็อกส่วนตัว บริการซื้อ-ขายสินค้าออนไลน์ สนทนาออนไลน์ ทำงานออนไลน์ และบริการความบันเทิงต่างๆ เช่น โหลดเพลง โหลดตัวอย่างหนัง เป็นต้น

ปัจจุบันอินเทอร์เน็ต ได้กลายมาเป็นส่วนสำคัญในชีวิตของมนุษย์ การขยายบริการเครือข่ายระบบอินเทอร์เน็ตทำให้ผู้คนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและติดต่อสื่อสารกันได้แทบทุกหนทุกแห่ง โลกจะอยู่ในยุคที่คอมพิวเตอร์แทรกซึมสู่วิถีชีวิตส่วนตัวและวิถีการทำงาน ผู้คนจะใช้อินเทอร์เน็ตทำงานแทน ใช้อำนวยความสะดวกสบายต่างๆ ในชีวิตประจำวัน รวมถึงกิจกรรมบันเทิงเพื่อการผักผ่อนหย่อนใจ นอกจากนี้อินเทอร์เน็ตยังส่งผลกระทบสำคัญในการพัฒนาไม่ว่าจะเป็นด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง อีกด้วย

แนวโน้มของอินเทอร์เน็ตในอนาคต จะพัฒนาไปสู่การเป็น “
สรรพสิ่งอัจฉริยะ (Internet of Things)” เพื่อให้การพัฒนา เทคโนโลยีไปไกลถึงในระดับที่คำว่า Internet of Things (อินเตอร์เน็ตในสรรพสิ่ง) จำเป็นต้องบริหารจัดการ สร้างมาตรฐาน และ พัฒนาศักยภาพในด้านต่างๆ ของเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมที่เกี่ยวข้อง ให้เป็นระบบที่มีประสิทธิภาพ มีความปลอดภัยรวมศูนย์ และมีเครือข่ายการสื่อสารครอบคลุมทั่วทั้งโลก มาตรฐานที่ยั่งยืนควรได้รับการพัฒนา เพื่อให้ข้อมูลจำนวนมากมายมหาศาล สามารถแลกเปลี่ยนกันระหว่างสิ่งของกับสิ่งของ และผู้คนกับสิ่งของได้ รวมทั้งการเพิ่มขีดความสามารถของสิ่งของเครื่องใช้อัจฉริยะให้มีความทนทานต่อความรุนแรงของสิ่งแวดล้อมอันเลวร้าย แต่ยังสามารถปรับตัวได้อย่างอัตโนมัติ ฉลาด และน่าเชื่อถือ ที่สำคัญมากอีกประการหนึ่งคือ ระบบอินเทอร์เน็ตในอนาคตควรเป็นที่เชื่อมั่น มีความเป็นส่วนตัวและมีความปลอดภัยอีกด้วย

ในการพัฒนาประเทศ รัฐบาล บุคคลที่เกี่ยวข้องไม่ควรให้ความสำคัญเพียงแต่การพัฒนาด้านเทคโนโลยีเพียงเท่านั้น จำเป็นต้องให้ความรู้แก่ประชาชนให้กว้างขวาง ยิ่งมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันมากขึ้นเท่าไหร่ก็จะช่วยให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่นในเทคโนโลยีใหม่ๆ มากกว่าจะเพิ่มความหวาดระแวง การเปิดประเด็นเพื่อการถกเถียงกัน ถึงคุณลักษณะของเทคโนโลยีระบบอินเทอร์เน็ตในอนาคตต่อสาธารณะชนทั่วไป จะเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญสำหรับความสำเร็จในการพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คน ลดช่องว่างในการเข้าถึงเทคโนโลยีและในอนาคตอินเทอร์เน็ตอาจสามารถช่วยลดผลกระทบต่อระบบนิเวศวิทยาของมนุษยชาติได้อีกทางหนึ่งด้วย

สำหรับประเทศไทยแนวโน้มการใช้อินเทอร์เน็ต จะมีการขยายตัวของการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการติดตามข่าวสารและข้อมูลรวมถึงการเรียนรู้ผ่านอินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น ผ่านทางอุปกรณ์เคลื่อนที่พกพาที่รองรับการให้บริการข่าวออนไลน์และหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) ที่หลากหลาย เช่น เครื่องอ่านอิเล็กทรอนิกส์ (e-Reader) สมาร์ตโฟน และพีดีโฟน เป็นต้น อันจะนำมาซึ่งการสร้างสรรค์เนื้อหาดิจิทัล จึงเป็นความท้าทายของทุกภาคส่วนในการเตรียมความพร้อมเชิงนโยบายและเชิงปฏิบัติ ในการกระตุ้นและพัฒนาให้เกิดการสร้างสรรค์เนื้อหาดิจิทัลและแอพพลิเคชั่นที่มีคุณภาพ รวมถึงแนวทางการกลั่นกรองความเหมาะสมของเนื้อหาดิจิทัล โดยไม่ให้กระทบต่อการแสดงความคิดเห็นอย่างเสรีของภาคประชาชน และให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนภายในประเทศ



เอกสารอ้างอิง


[1] ผศ. ดร. ศรีไพร ศักดิ์รุ่งพงศากุล เขียน ; เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ ; อินเทอร์เน็ต หน้า 35-58
[2] ประวัติอินเทอร์เน็ต ; http://www.satitm.chula.ac.th/computer/info/8/index.htm
[3] สถิติผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วโลก ปี 2552 ; http://www.richtopup.com/internetworldstats.php?i=
[4] เนคเทค รายงานผลการสำรวจกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ประจำปี 2552 ; http://www.nectec.or.th/index.php?option=com_content&view=article&catid=405&Itemid=405&id=405 ; 15 มกราคม 2553
[5] สถิติการเยี่ยมชมเว็บไซต์ในประเทศไทย ; http://www.nectec.or.th/index.php?option=com_content&view=article&catid=405&Itemid=405&id=405
[6] TOP 10 WEBSITES ; http://truehits.net/
[7] พ.อ.รศ.ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ และ นิธิมา เสริมสุธีอนุวัฒน์ เขียน ; บทความ แนวโน้มและการพัฒนาอินเทอร์เน็ตในอนาคต

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกับบทบาทเสริมสมรรถนะองค์กร

พัฒนาการของสังคมมนุษย์ อดีตมนุษย์อาศัยอยู่ตามถ้ำและป่าเขา เร่ร่อน ล่าสัตว์ หาของป่าเป็นอาหาร หลังจากนั้นมนุษย์ได้เริ่มมีการรวมตัวและรู้จักการเพราะปลูก เกษตรกรรมทำให้สังคมมนุษย์เจริญขึ้น การสร้างเมืองและสังคมเมืองนำมาสู่ยุคอุตสาหกรรมการผลิต การผลิตทำให้เกิดการปฏิวัติทางอุตสาหกรรมที่เน้นการผลิตจำนวนมาก หลังยุคอุตสาหกรรมมนุษย์ได้ก้าวสู่ยุคสารสนเทศ ต่อมาการปฏิวัติเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสังคมมาสู่สังคมสารสนเทศ และส่งผลกระทบให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบสังคมโดยรวมไม่ว่าจะเป็นระบบเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การศึกษา ฯลฯ

หลังปี พ.ศ. 2530 เป็นต้นมา ระบบสื่อสารโทรคมนาคมและคอมพิวเตอร์ก้าวหน้ามาก ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้เข้ามาเสริมปัจจัยขั้นพื้นฐานของการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการดำรงชีวิต การสร้างที่พักอาศัยที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน เทคโนโลยีสามารถผลิตสินค้าและให้บริการต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์มากขึ้น เพราะเทคโนโลยีทำให้ระบบการผลิตสามารถผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมากมีราคาถูกลง สินค้าได้คุณภาพ และเทคโนโลยีทำให้มีการติดต่อสื่อสารกันได้สะดวก เชื่อมโยงถึงกันทำให้ประชากรในโลกติดต่อรับฟังข่าวสารกันได้ตลอดเวลา

ปัจจุบันเรากำลังก้าวเข้าสู่ยุคทรัพย์สินทางปัญญา หน่วยงานและองค์กรต่างๆ ถูกขับเคลื่อนด้วยแรงงานความรู้ องค์กรต้องมีการจัดการความรู้อย่างเป็นระบบเพื่อสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ การเรียนรู้กลายเป็นสิ่งสำคัญที่องค์กรต้องมีการแสวงหา การสร้าง การจัดเก็บและการเปลี่ยนแปลงเรียนรู้ร่วมกัน

เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการช่วยจัดการความรู้และเสริมประสิทธิภาพการทำงานในองค์กร การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดเก็บและเผยแพร่ความรู้ให้กับพนักงานที่ต้องการความรู้ อย่างรวดเร็วและสามารถเข้าถึงความรู้ได้ทุกเวลาและทุกสถานที่ ช่วยให้พนักงานสามารถเรียนรู้ได้เร็วกว่าคู่แข่งและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) หรือ IT หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มาจัดการสารสนเทศที่ต้องการ โดยอาศัยเครื่องมือทางเทคโนโลยีใหม่ๆ ประกอบด้วยเทคโนโลยีแกนหลักสองสาขา ได้แก่ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม กระบวนการดำเนินงานจัดการสารสนเทศ ตั้งแต่การเสาะแสวงหา การวิเคราะห์ การจัดเก็บ การจัดการ และการเผยแพร่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้อง ความแม่นยำ และความรวดเร็วทันต่อการนำไปใช้ประโยชน์ และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์จะช่วยทำงานด้านการจัดเก็บ บันทึกและประมวลผลข้อมูลให้รวดเร็วและถูกต้อง ก่อให้เกิดความได้เปรียบทางการแข่งขัน และพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น

การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีการสื่อสารก่อให้เกิดการปฏิวัติเทคโนโลยีที่ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรมและกิจกรรมระหว่างประเทศ เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดการกระจายข่าวสารไปยังท้องถิ่นต่างๆ ทั่วโลก คอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมต่อกันได้ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทำให้สามารถติดต่อสื่อสารแบบไร้ขีดจำกัดด้านพรมแดน และสามารถติดต่อสื่อสารกันโดยใช้โทรศัพท์คุยกันข้ามประเทศ ทั้งยังช่วยสนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรและธุรกิจต่างๆให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ในด้านของการจัดเก็บข้อมูล การจัดการ การประมวลและวิเคราะห์เพื่อการตัดสินใจ และช่วยในการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนข้อมูลทั้งภายในและภายนอกองค์กร

ด้านการทำธุรกิจ internet ได้กลายมาเป็นส่วนสำคัญในการทำงานและเพิ่มช่องทางการแข่งขัน เพราะช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานที่ไหน เมื่อไหร่ก็ได้ ไม่จำกัดเวลาและสถานที่ บริษัทธุรกิจต่างๆ ได้เห็นความสำคัญและมีการลงทุนใช้อินเตอร์เน็ตเข้ามาช่วยในการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น เพื่อใช้เป็นสื่อกลาง เป็นช่องทางที่เข้าถึงลูกค้าได้โดยตรง การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หรืออีคอมเมิร์ซ(e-commerce) หรือระบบการซื้อขายสินค้าและบริการผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ทำให้เกิดการปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าโดยตรง ไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง เช่น การใช้อินเตอร์เน็ตในการซื้อตั๋วเครื่องบิน ตั๋วรถไฟออนไลน์ การสร้างโฮมเพจหรือเวบเพจของผู้ประกอบการธุรกิจต่างๆ เพื่อเปิดร้านค้าออนไลน์ให้ลูกค้าเข้ามาดูรายละเอียดของสินค้าและสามารถสั่งซื้อสินค้าได้โดยตรง

ปัจจุบันระบบเศรษฐกิจกำลังก้าวเข้าสู่ยุคทรัพย์สินทางปัญญาหรือระบบเศรษฐกิจใหม่ การพัฒนาของประเทศต่างๆ จะถูกพิจารณาจากการมีทรัพย์สินทางปัญญาว่ามีอยู่มากน้อยเพียงใด ประเทศ หน่วยงานและองค์กรต่างๆ ถูกขับเคลื่อนด้วยแรงงานความรู้ การแข่งขันทางการค้าไม่ได้ถูกผลิตและป้อนตลาดแค่ภายในประเทศ ความอยู่รอดขององค์ต้องการการทุ่มเททั้งกำลังกาย กำลังความคิด และกำลังใจ จากคนหรือทรัพยากรมนุษย์

การบริหารงานในอนาคตจะผลิตสินค้าและบริการเพื่อสนองเฉพาะตลาดภายในประเทศอย่างเดียวไม่ได้ต้องมองถึงตลาดโลก เพราะจะมีคู่แข่งจากภายนอกประเทศเข้ามาแย่งตลาด คุณภาพสินค้าไม่ได้ขึ้นอยู่กับรูปลักษณ์ภายนอกและความคงทนของสินค้าอย่างเดิม คุณภาพสินค้ายังขึ้นอยู่กับองค์ประกอบภายนอกเช่น ไม่ทำลายสภาพแวดล้อม ประหยัดพลังงาน และเป็นสินค้าที่ไม่สามารถลอกเลียนแบบได้ ดังนั้นเพื่อความอยู่รอดขององค์กรลักษณะขององค์กรที่มีประสิทธิภาพในอนาคตจึงต้องมีลักษณะที่แตกต่างกับองค์กรที่เป็นอยู่ คือ ประสิทธิภาพโดยรวม ต้องเป็นองค์กรที่มีเป้าหมายเป็นองค์กรระดับโลก มีความคล่องตัวสูงและปรับตัวไว ลักษณะโครงสร้างองค์กร เน้นการกระจายอำนาจ วัฒนธรรมองค์กรเป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จและความล้มเหลวขององค์กร และระบบสารสนเทศ ภายในองค์กรต้องมีการนำเอาคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้เชื่อมโยงกับระบบข่าวสาร และมีการรวมเอาการวางแผนและกระบวนการทำงานเข้าไว้ด้วยกัน

อนาคตโลกจะเข้าสู่ยุค นิเวศอิเล็กทรอนิกส์ (Digital Ecosystem)” บนสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ คือมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานของมนุษย์ให้ทำงานร่วมกันเป็นทีมหรือเป็นกลุ่มและมีการเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารและสารสนเทศระหว่างกลุ่ม จะมีลักษณะกลุ่มแบบกลุ่มเสมือน (Virtue) และจะก้าวสู่ นิเวศอิเล็กทรอนิกส์ ในที่สุด ซึ่งจะก่อให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างกันมากขึ้นของหน่วยงานและระหว่างองค์กร เกิดการใช้ทรัพยากรและเทคโนโลยีมากขึ้น การวิจัยและพัฒนาจะนำมาซึ่งการสร้าง นวัตกรรม(Innovation)” ใหม่ๆ ทำให้คนในองค์กรต้องทำงานร่วมกันและสื่อสารระหว่างกันมากขึ้น และเทคโนโลยียังช่วยให้สามารถเข้าถึงองค์ความรู้ต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น

การพัฒนาของระดับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ตั้งแต่การใช้อีเมล์เพื่อติดต่อสื่อสารระหว่างกันทั้งภายในและภายนอกองค์กร จนถึงการใช้เว็บไซต์เพื่อเป็นการให้ข้อมูลและสารสนเทศจากผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) ต่างๆ ขององค์กร และก้าวเข้าสู่ระบบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ที่มีการซื้อ-ขายสินค้าและบริการผ่านระบบอินเทอร์เน็ต หลังจากนั้นองค์กรมีการขยายฐานของการทำธุรกิจและธุรกรรมบนอินเทอร์เน็ตมากยิ่งขึ้น ก่อให้เกิด “e-Business” คือการใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อธุรกิจมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและและประสิทธิผลในการค้าและธุรกิจ อีกทั้งก่อให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ลูกค้า เพิ่มระดับของห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) แก่ธุรกิจ และหลังจากนั้นได้มีการเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างองค์กรจนสามารถทำธุรกิจและประสานงานซึ่งกันและกันที่เรียกว่า องค์กรเสมือน (Virtual Enterprise)” คือองค์กรที่เกิดขึ้นบนพื้นฐานของระบบเครือข่าย (Networking) ไม่ได้มีที่ตั้งอย่างเป็นรูปธรรม หากแต่สามารถประกอบธุรกิจได้อย่างดีและมีประสิทธิภาพ จนในที่สุดมีการเชื่อมโยงองค์กรเสมือนหลายๆ องค์กรเข้าด้วยกันจนก่อให้เกิด ระบบนิเวศอิเล็กทรอนิกส์ (Digital Ecosystem)” ที่มุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงความรู้ระหว่างองค์กร ซึ่งมีลักษณะขององค์กรที่มีการปรับตัวอยู่ตลอดเวลาเพื่อสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงของโลกธุรกิจ และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืนต่อไป
รูปแบบการทำงานในอนาคตนั้น จะเน้นการทำงานบนพื้นฐานของการใช้ข้อมูลสารสนเทศ และความรู้ในการตัดสินใจในการทำงานและดำรงชีวิตประจำวัน ดังนั้นจะต้องมีการเตรียมความพร้อมของตนเอง เพื่อก้าวสู่อนาคตในโลกของการทำงานบนพื้นฐานของความเป็นจริง หากเรามองภาพในอนาคตจะพบว่าโลกของอนาคตนั้นจะเป็นการรวมตัวของการสื่อสารทุกชนิดไว้เป็นหนึ่งเดียว เช่น เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตรวมกับเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือ ซึ่งจะมีการเตรียมโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการติดต่อสื่อสารด้วย
Internet Broadband ไว้เกือบทุกๆ ที่ไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัย ห้องสมุด สถานที่ทำงาน รถไฟฟ้าใต้ดิน หรือห้างสรรพสินค้า เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงคลังข้อมูลขององค์กรได้ทุกที่ทุกเวลา ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้วัฒนธรรมการทำงานของคนเปลี่ยนไป

การก่อกำเนิดของเทคโนโลยีได้ส่งผลทำให้สังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงและกลายเป็นส่วนสำคัญในการทำงาน และเข้ามาเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในการติดต่อสื่อสาร การตอบสนองความต้องการ และอำนวยความสะดวกต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอินเทอร์เน็ต โทรศัพท์เคลื่อนที่ ฯลฯ อย่างไรก็ดีถึงแม้เทคโนโลยีสารสนเทศจะก่อประโยชน์อย่างมากมายมหาศาลต่อระบบการทำงานและการติดต่อสื่อสาร สิ่งที่ควรตระหนักคือ ความรับผิดชอบต่อสังคม และ คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยี ผู้ใช้จะต้องใช้เทคโนโลยีเพื่อก่อประโยชน์ต่อตนเอง ต่องาน ต่อองค์กร และต่อสังคมในด้านบวก ต้องคำนึงถึงความรับผิดชอบและผลกระทบของการใช้เทคโนโลยีต่างๆ ที่จะมีต่อสังคม



เอกสารอ้างอิง

[1] ผศ. ดร. พรรณี สวนเพลง เขียน ; เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมสำหรับการจัดการความรู้

[2] http://www.school.net.th/library/snet1/network/it/index.html รวบรวมจาก หนังสือเรียนวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศพื้นฐาน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

[3] รศ. ดร. ไพบูลย์ เกียรติโกมล และ ผศ. ดร. ณัฎฐพันธ์ เขจรนันทน์ เขียน ; ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ(Management Information Systems)

[4] www.dopa.go.th/iad/subject/it2.doc ; กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

[5] http://www.spu.ac.th/ktm/chapter13.html ; หนังสือเรียนวิชา ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ คณะสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

[6] อ.ชลภัสส์ วงษ์ประเสริฐ เขียน ; เอกสารประกอบการเรียนการสอนทางอินเตอร์เน็ต ครั้งที่ 1 วิชา ITM 628 การจัดการความรู้ ; คณะการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยรังสิต